คอนกรีตผสมเสร็จ น่ำเฮง

฿0.00

คำอธิบาย

คอนกรีตผสมเสร็จ น่ำเฮง

น่ำเฮง คอนกรีต

1. คอนกรีตความร้อนต่ำ (Low Heat Concrete)

คอนกรีตที่มีความหนาตั้งแต่ 1 เมตร ขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะมีการสะสมอุณหภูมิ บริเวณแกนกลางสูงเกินกว่า 80 องศาเซลเซียส ส่งผลให้คอนกรีตเกิดการเสียหายจากการแตกร้าวเนื่องจากอุณหภูมิได้ คอนกรีตประเภทความร้อนต่ำได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาของคอนกรีตต่ำที่สุดบนข้อจำกัดในด้านกำลังรับแรงอัด ขนาดของโครงสร้างและระยะเวลาการก่อสร้าง เป็นต้น การวิเคราะห์ผลอุณหภูมิสูงสุดล่วงหน้าจะช่วยให้การเตรียมความพร้อมในการเทคอนกรีตมีศักยภาพดียิ่งขึ้น และลดปัญหาการแตกร้าวเนื่องจากอุณภูมิได้

2. คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรม (Industrial Floor Concrete)

คอนกรีตพื้นอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับพื้นโรงงาน หรือโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงของผิวหน้าเป็นพิเศษ สามารถใช้แทนการเทคอนกรีตและเคลือบผิวหน้าด้วยวัสดุ Floor Hardener แต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ ไม่มีการหลุดแยกชิ้นระหว่างคอนกรีตปกติและชั้นเคลือบผิว คอนกรีตมีกำลังรับแรงอัดสูงและสม่ำเสมอกว่าคอนกรีตขัดมันที่ใช้วัสดุเคลือบผิวหน้าคอนกรีต และสามารถทนแรงขัดสีได้ดีกว่า

3. คอนกรีตไหลและอัดแน่นด้วยน้ำหนักตัวเองโดยไม่ต้องจี้เขย่า (Self-Compacting Concrete)

คอนกรีต Self-Compacting เหมาะสำหรับโครงสร้างที่คอนกรีตทั่วไปไหลเข้าแบบได้ยาก เช่น เสาที่แคบมีความสูงชะลูดมีเหล็กเสริมแน่น โครงสร้างมีทิศทางการเทที่ซับซ้อน งานซ่อมแซม หรืองานเทคอนกรีตที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายจากระยะเวลาการเทและส่วนของแรงงาน คอนกรีตประเภทนี้จะมีความสามารถเทได้สูง ไหลเข้าแบบง่ายโดยไม่ต้องมีการจี้เขย่า ยากต่อการแยกตัว เมื่อผ่านอุปสรรคได้แก่ สิ่งกีดขวาง หรือเหล็กเสริม คอนกรีตจะไหลผ่านโดยนำพาหินไปด้วยกันได้ ส่วนที่เป็นซีเมนต์เพสต์มีความแข็งแกร่งกว่าคอนกรีตทั่วไป

4. คอนกรีตกำลังรับแรงอัดสูง (High Strength Concrete)

ในปัจจุบันแนวทางการออกแบบโครงสร้างเน้นให้โครงสร้างเล็กลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยของตัวอาคาร จึงมีการออกแบบโครงสร้างโดยกำหนดให้คอนกรีตมีการรับน้ำหนักที่สูงขึ้นตั้งแต่ 400 ksc/cm2 ขึ้นไป ดังนั้น คอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดสูงจึงต้องพิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด ตั้งแต่การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต คุณภาพของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นคอนกรีต และการควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ เพื่อให้กำลังรับแรงอัดถึงตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยสามารถผลิตคอนกรีตได้กำลังรับแรงอัดสูงสุดที่ 800 ksc/cm2 นอกจากนี้ การออกแบบคอรกรีตได้คำนึงถึงความทนทานในระยะยาว ลดการแตกร้าว และมีความสามารถเทได้ดี

5. คอนกรีตแข็งตัวเร็ว (Fast Setting Concrete)

ในปัจจุบันโครงสร้างการก่อสร้างต้องการความรวดเร็วในการทำงาน เร่งเวลาในการถอดแบบ หรือต้องการเปิดใช้งานโครงสร้างอย่างเร่งด่วน ซึ่งคอนกรีตแข็งตัวเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี สามารถพัฒนากำลังอัดในชั่วโมงต้นๆ ทนต่อการสึกหรอ และยังมีความทึบน้ำสูงกว่าคอนกรีตทั่วไป ซึ่งสัดส่วนผสมคอนกรีต สามารถออกแบบได้ ตามกำลังอัด และเวลาที่ต้องการใช้งาน

6. คอนกรีตสำหรับสิ่งแวดล้อมทะเล (Concrete for Marine Environment)

โครงสร้างตอนกรีตเสริมเหล็กในสภาวะ ที่ต้องสัมผัสกับน้ำทะเล หรือบริเวณชายฝั่งทะเล นั้นไม่สามารถที่จะใช้คอนกรีตทั่วไปในการทำงานได้ เนื่องจากในน้ำทะเลประกอบไปด้วย เกลือคลอไรด์ (CI-) และเกลือซัลเฟด (SO4-) ทำให้ไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อน และทำให้เหล็กเป็นสนิมจนทำให้คอนกรีตเกิดการกระเทาะออก ซึ่งคอนกรีตสำหรับสิ่งแวดล้อมทะเล ถูกออกแบบเพื่อใช้ในงานในสภาวะดังกล่าวได้ดี คอนกรีตมีความพรุนต่ำ ลดปัญหาการซึมผ่านคลอไรด์ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากคลอไรด์ ทำให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน

7. คอนกรีต Slip Form

คอนกรีต Slip Form เหมาะสำหรับการเทคอนกรีตระบบเลื่อนเทในแนวดิ่ง โดยใช้ Hydraulic Jack เป็นตัวขับดันแบบหล่อเหล็กขึ้น เมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัว คอนกรีตมีความสามารถเทได้ดี มีระยะเวลาในการเริ่มแข็งตัวของคอนกรีตสอดคล้องกับการ Slip โดยไม่เร็วหรือช้าเกินไป ผิดคอนกรีตมีลักษณะเรียบเนียน มีฟองอากาศน้อย ไม่มีโพรงหรือรูพรุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะอาดของแบบเหล็กและการ Slip ได้สอดคล้องกับการแข็งตัวของคอนกรีต ระยะเวลาในการ Slip สามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมง 30 นาที ขึ้นไป นับจากเวลาเริ่มผสมคอนกรีต